วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กิจกรรมท้ายบทที่ 9

กิจกรรมท้ายบทที่ 9

1.      จงอธิบายถึงคุณค่าและการใช้เทคโนโลยี Cloud computing เพื่อการศึกษา
 ตอบ  คุณค่าของเทคโนโลยี Cloud computing
1.ลดความซับซ้อนยุ่งยากของผู้ต้องการใช้บริการ
2.ช่วยประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่าย
3.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการกับข้อมูล คือ ข้อมูลสารสนเทศที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา เนื่องจากปัจจุบัน ข้อมูลมีการอัพเดทตลอดเวลา ทำให้ข้อมูลสารสนเทศมีมากมายมหาศาล ด้วยสมรรถนะของเทคโนโลยี Cloud computing เข้ามาช่วยในการจัดการกับข้อมูลในการให้บริการได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึงความต้องการของผู้ใช้
 การใช้เทคโนโลยี Cloud computing เพื่อการศึกษา
 เทคโนโลยี Cloud computing เป็นบริการพื้นฐานของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ให้ความสะดวกกับผู้ใช้โดยไม่ต้องผ่านแม่ข่าย หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ซึ่งเทคโนโลยี Cloud computing นี้สามารถให้บริการทั้งเก็บข้อมูลสารสนเทศ และสามารถเรียกคืนสารสนเทศดังกล่าวได้อย่างสะดวก ซึ่งส่งผลให้นำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษาซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1.ประยุกต์ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างในการทำกิจกรรมการเรียนการสอน
2.การประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์บทเรียน สื่อการเรียนการสอน
3.การประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์ของผู้สอน
4.การประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaboration)
5.การประยุกต์ใช้ในการให้บริการงานห้องสมุด

2.      จงอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างเทคโนโลยี Web 2.0 และ Web 3.0 พร้อมประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษา
ตอบ  Web 2.0 = Read/Write, dynamic data through web services
 Web 3.0 = Read/Write/Relate, data with structured metadata + managed identity
 ในยุคของ Web 2.0 บุคคลทั่วไปคือผู้สร้างเนื้อหา และนำเสนอข้อมูลต่างๆจาก Web 2.0 ในเปลือกนัท ทำให้เราเข้าใจว่านั่นเป็นเรื่องของการแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกันอย่างแท้จริง โดยการสร้างเสริมข้อมูลสารสนเทศ ให้มีคุณค่าและมีข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด ดังตัวอย่างที่เป็นสิ่งที่ทุกคนคงรู้จักกันดีอย่าง Wikipedia ทำให้ความรู้ถูกต่อยอดไปอยู่ตลอดเวลา ข้อมูลทุกอย่างได้มาจากการเติมแต่งอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เกิดจากการคานอำนาจของข้อมูลของแต่ละบุคคลทำให้ข้อมูลนั้นถูกต้องมากที่สุดและจะถูกมากขึ้นเมื่อเรื่องนั้นถูกขัดเกลามาตามระยะเวลายาวนานและวันนี้ Web 3.0 กำลังจะมาเป็นการนำแนวคิดของ Web 2.0 มาทำให้ Web นั้นสามารถจัดการข้อมูลจำนวนมากๆ โดยอย่างที่เรารู้กันดีว่าผู้ใช้ทั่วไปนั้นเป็นผู้สร้างเนื้อหา ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น เช่นการเขียน Blog, การแชร์รูปภาพและไฟล์มัลติมีเดียต่างๆ ทำให้ข้อมูลมีจำนวนมหาศาล ทำให้จำเป็นต้องมีความสามารถในการข้อมูลดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเอาข้อมูลต่างๆเหล่านั้นมาจัดการให้อยู่ในรูปแบบ Metadata ที่หมายถึงข้อมูลที่บอกรายละเอียดของข้อมูล (Data about data) ทำให้เว็บกลายเป็น Semantic Web กล่าวคือเว็บที่ใช้ Metadata มาอธิบายสิ่งต่างๆบนเว็บ ซึ่งในตอนนี้เราจะเห็นกันทั่วไปนั่นคือ Tag นั้นเอง โดยที่ Tag ก็คือคำสั้นๆหลายๆคำ ที่เป็นหัวใจของเนื้อหา เพื่อทำให้เราสามารถเข้าถึงเนื้อหาต่างๆได้ด้วยการใช้ Tag ต่างๆเพื่อเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง แต่แทนที่ผู้ผลิตเนื้อหาจะใส่เอง แต่ตัว Web จะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น แล้วให้Tags ตามความเหมาะสมให้เราแทนโดยเมื่อได้ Tag มาแล้ว ข้อมูลแต่ละ Tag จะมีความสัมพันธ์กับอีก Tag โดยปริยาย เช่นข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท Apple ก็จะมี Tag ที่เกี่ยวกับ Computer, iPod, iMac …และ Tag ที่มีเนื้อหา Computer ก็มี Tag ที่เชื่อมโยงกับ Tag ที่มีเนื้อหาด้าน Electronic โดยจะเชื่อมโยงแบบนี้ไปเรื่อยๆ ทำให้ข้อมูลมีการเชื่อมโยงกันเหมือนฐานข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันในเชิงข้อมูล ทำให้อินเตอร์เน็ตกลายเป็นฐานข้อมูลความรู้ขนาดใหญ่ ที่ข้อมูลทุกอย่างถูกเชื่อมต่อกันอย่างเป็นระบบมากขึ้นเปรียบเทียบไว้ว่า Web 2.0 ผู้เข้าชมสามารถอ่านและเขียนได้ (read-write) เจ้าของเว็บสร้างระบบและเนื้อหาบนเว็บ ผู้เข้าชมสร้างเนื้อหาบนระบบเดียวกับเจ้าของเว็บแล้วให้ผู้ชมอื่นๆ ได้ดูต่อ จนเป็นที่มาของ Social Network แต่พอมาเป็น Web 3.0 จะกลายเป็น อ่าน/เขียน/จัดการ ได้สามอย่างพร้อมกัน (read-write-execute) คราวนี้ความสามารถของมันก็จะมากมายมหาศาล แทนที่จะเข้าไปอ่านและเพิ่มข้อมูล เราก็จะสามารถปรับแต่งแก้ไขข้อมูลหรือระบบได้เองอย่างอิสระมากขึ้น Web 3.0 แทนที่เราจะค้าหาข้อมูลใดสักตัวแล้วไปเจอแต่ข้อความน่าเบื่อ คราวนี้เราจะสามารถไปเจอข้อมูลอื่นๆ ได้อีกด้วย โดยไม่จำเป็นจะต้องเป็นข้อความเสมอไปดังนั้น Web 3.0 คือเทคโนโลยีหรือแนวความคิดที่จะเชื่อมโยงข้อมูลใน Web ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกันทั้งภายใน Web หรือภายในเครือข่ายของโลก ซึ่งมองไปแล้วมันก็คือ Database ของโลกเลย แต่ก็เป็นแนวคิดที่จะทำให้หาข้อมูลที่ต้องการได้ง่ายขึ้น ซึ่งก็จะมี format ข้อมูลในการติดต่อสื่อสารกัน แต่ก็ based-on XML เช่นพวก RDF (Resource Definition Framework), OWL (Ontology Web Language) ยุคของ Web 3.0 นี้เองที่มีความฉลาดล้ำหน้าไปอย่างมาก และความฉลาดของมันนี่เองจะนำซึ่งความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และท้าทายเหล่าผู้พัฒนาเว็บไซต์และผู้ใช้มีจัดทำเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต

ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษา คือ สามารถเปรียบเทียบความแตกต่างและอธิบายถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Web 2.0 และ Web 3.0 เพื่อการศึกษาได้



3.      YouTube คือสื่อสังคมออนไลน์ประเภทใด และมีประโยชน์กับการศึกษาหรือไม่อย่างไร
ตอบ  YouTube คือสื่อสังคมออนไลน์ประเภทเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ (Creative Network) สำหรับการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน YouTube ได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นเครื่องมืออีกตัวที่สามารถทำให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ด้านผู้สอน : มีการนำ YouTube มาใช้เป็นสื่อทางการเรียนการสอน หรือมีการอัดวิดีโอการสอนเนื้อหาที่ตนเองได้รับผิดชอบแล้วอัพโหลดในเว็บ YouTube เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษา ในการเรียนการสอนเมื่อครูนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาจะทำให้ผู้เรียนสนใจและตั้งใจเรียนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสื่อที่มีการเคลื่อนไหว มีเสียง หรืออื่นๆ ที่นอกเหนือจากการบรรยาย สำคัญกว่านั้นคือการใช้ YouTube เป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอนจะส่งผลดีแก่ผู้เรียน คือ ผู้เรียนสามารถเข้ามาศึกษาหาความรู้ในวันและเวลาใดก็ได้ตามที่ต้องการ

ด้านผู้เรียน : ผู้เรียนสามารถค้นคว้าหาความรู้ผ่านทาง YouTube ได้ตลอดเวลา ไม่เพียงทางด้านการเรียนเท่านั้น YouTube ยังมีวิดีโอที่น่าสนใจอีกมากมาย เช่น เทคนิคการถักผ้าพันคอ การร้อยมาลัย และยังมีเทคนิควิธีการต่างๆที่น่าสนใจอีกมากมาย อาจมีการแลกเปลี่ยนวิดีโอหรืองานต่างๆ ที่จัดทำในรูปแบบวิดีโอระหว่างเพื่อนด้วยกัน

4.      ทักษะที่จำเป็นด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาใหม่ของครู มีอะไรบ้าง
 ตอบ
1.       ทักษะในการเข้าถึง (Access) ได้อย่างรวดเร็ว และรู้แหล่งในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศอย่างถูกต้องตามหลักจริยธรรมและกฎหมาย

2.       ทักษะในการประเมิน วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของข้อมูลสารสนเทศได้อย่างรู้เท่าทัน

3.       ทักษะในการใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างสร้างสรรค์

4.       ทักษะในการจัดการเชื่อมต่อสารสนเทศ (Information flow) จากแหล่งที่หลากหลายได้

5.       ทักษะในการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสมในการสร้างสื่อประสม (Multimedia) และไฟล์เอกสาร (Hypertext Documents) ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการนำเสนอได้หลากหลาย

6.       ทักษะในการนำเสนอสื่อได้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง และต่างวัฒนธรรม

7.       ทักษะในการใช้เครื่องมือสื่อสาร เชื่อมโยงเครือข่าย และสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

8.       ทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการวิจัย จัดระบบ และสื่อสารสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม

9.       ทักษะในการใช้ซอฟแวร์ที่เหมาะสมกับการศึกษาระดับต่างๆได้

10.   ทักษะในการพัฒนาตนเองให้ทันสมัยและติดตามความเจริญก้าวหน้าของนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาได้

11.   ทักษะในการวิเคราะห์และแสดงให้เห็นปัญหา หากบุคคลขาดคุณธรรมในการใช้ความรู้ที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร



5.      จงเขียนตารางวิเคราะห์ความเหมือน และความแตกต่างระหว่าง Web-Based Instruction, Mobile Learning, Hybrid Learning และ HyFlex Learning
 ตอบ  
ความเหมือน
ความแตกต่าง
เทคโนโลยีทุกอย่างใช้ระบบอินเทอร์เน็ตในการสอน
Web-Based เป็นการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ตเท่านั้น
มุ่งให้ผู้เรียนเป็นสำคัญ
Hybrid เป็นการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ตและสอนในชั้นเรียนปกติ
ทุกการสอนช่วยขยายโอกาสทางการศึกษา
Hyflex เป็นการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ตและสอนในชั้นเรียนปกติรวมทั้งการศึกษาด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้
จัดการเรียนรู้ได้กว้างขวาง
Mobile การเรียนรู้ผ่านเครื่องมือสื่อสาร สะดวกสบายและสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่
เทคโนโลยีทุกอย่างที่ใช้ในการสอนสามารถช่วยเพิ่มความสามารถของประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนได้


6.      เทคโนโลยี Cloud computing คืออะไร และมีประโยชน์กับการจัดการศึกษาหรือไม่อย่างไร
 ตอบ  เทคโนโลยี Cloud computing คือ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการให้บริการประมวลผลแบบคลาวด์ เกิดจากแนวคิดการให้บริการโดยใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีที่ทำงานเชื่อมโยงกัน โดยมีเซิร์ฟเวอร์มากมายทำงานสอดประสานเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อให้บริการแอพปลิเคชั่นต่างๆ มีประโยชน์กับการจัดการศึกษา ดังนี้
1.ประยุกต์ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างในการทำกิจกรรมการเรียนการสอน
2.การประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์บทเรียน สื่อการเรียนการสอน
3.การประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์ของผู้สอน
4.การประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaboration)
5.การประยุกต์ใช้ในการให้บริการงานห้องสมุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น