วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กิจกรรมท้ายบทที่ 13

กิจกรรมท้ายบทที่ 13
แนวโน้มเทคโนโลยีการศึกษาจากปัจจุบันสู่อนาคตใหม่

1.จงเขียนตารางวิเคราะห์วิเคราะห์เปรียบเทียบบทบาทเทคโนโลยีการศึกษาต่อการจัดการศึกษาในปัจจุบันและอนาคต
ตอบ  


2.จงอธิบายบทบาทของครูผู้สอนกับการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต
ตอบ  ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
ส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้เรียนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้จากแหล่งและวิธีการที่หลากหลาย โดยจัดให้มีการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา พัฒนาหลักสูตรให้เอื้อต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนการสอน เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนทางไกล จัดให้มีศูนย์ข้อมูลสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Courseware Center) ให้มีการเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) จัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) จัดให้มีห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (Lifelong Learning) นำไปสู่สังคมแห่งคุณธรรมและสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาการบริหารจัดการและให้บริการทางการศึกษาพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ และพัฒนาบุคลากรทุกระดับที่เกี่ยวข้อง โดยความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาที่มีความพร้อมและเอกชน สร้างศูนย์ปฏิบัติการสารสนเทศ (Operation Center) เชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระดับชาติและระดับกระทรวง รวมทั้งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และให้บริการทางการศึกษา ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สอดคล้องกับการปฏิรูประบบราชการ
1.ผู้คอยชี้แนะและกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเองจากการลงมือปฏิบัติ
       2.มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการพัฒนาตนเอง เพื่อนำ            มาปรับวิธีสอน
       3.อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้ออกแบบและนำเสนอความรู้อย่างสร้างสรรค์
       4.ชี้แนวทางให้ผู้เรียนวิเคราะห์ สังเคราะห์ด้วยตนเองและแลกเปลี่ยนความรู้
       5.ใช้การประเมินจากสภาพจริง และประเมินผลงานจากการปฏิบัติ
       6.สวมบทบาทพี่เลี้ยงคอยช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
       7.กำหนดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม และยืดหยุ่นในการเรียนรู้ตามขอบเขตที่กำหนดไว้
       8.เป็นผู้ร่วมเรียนรู้ ร่วมแก้ปัญหา ร่วมกับผู้เรียน
       9.เสนอแนะให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการแสวงหาความรู้
      10.มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ประสบการณ์ตรงจากผู้เรียนก่อให้เกิดทักษะในการแสวงหาความรู้
      11.เป็นผู้ตั้งคำถามเพื่อให้ผู้เรียนตื่นตัวที่จะค้นหาคำตอบ
      12.ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้งานวิจัยเป็นฐาน
      13.สามารถเชื่อมโยงกิจกรรมกราเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดทักษะการใช้ชีวิต
      14.ต้องรูเท่าทันสื่อ สามารถวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และใช้อย่างสร้างสรรค์ อย่างมีคุณธรรมและตามกฎหมาย

3.สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในอนาคตด้านเทคโนโลยีมีอะไรบ้าง
ตอบ  สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในอนาคตจะเป็นสภาพแวดล้อมแบบเปิด (Open Learning Environment) ดังรายละเอียดต่อไปนี้

 1.สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านสังคมภาพ คือการออกแบบการเรียนรู้ในอนาคตที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ และเปิดกว้างมากยิ่งขึ้นโดยให้ผู้เรียนได้ใช้เครื่องมือในสื่อสังคมออนไลน์ในการสร้างกลุ่มเครือข่ายการเรียนรู้ในลักษณะเรียลไทม์

 2.สภาพแวดล้อมทางจิต คือ เป็นสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อความรู้สึก ที่ผู้ออกแบบจำเป็นต้องอาศัยความละเอียดอ่อน ในการสังเกต และสร้างให้เกิดภายในจิตใจของผู้เรียน

3.สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางกายภาพ คือ เป็นสภาพแวดล้อมที่สามารถมองเห็นเป็นรูปธรรมสัมผัสได้ในอนาคตนั้นมีการออกแบบพื้นที่โดยมีอุปกรณ์และเครื่องมืออำนวยความสะดวกที่สามารถเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ โดนแบ่งเป็นทั้งหมด6โซนดังนี
  3.1พื้นที่ปฏิสัมพันธ์
  3.2พื้นที่สำหรับการนำเสนอ
  3.3พื้นที่สำหรับสืบสวนค้นหาข้อสรุป
  3.4ห้องสร้างสรรค์
  3.5ห้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  3.6ห้องพัฒนาปรับปรุง

 4.สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางเทคโนโลยี คือ มีการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารนอกจากที่จะเข้าถึงเนื้อหาการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้นและตรงความต้องการของผู้เรียน ซึ่งได้แก่
  4.1ยุคเว็บ3.0
  4.2เทคโนโลยีการบริการทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในรูปแบบของประมวลผลกลุ่มก้อนเมฆหรือCloud Computing
  4.3เทคโนโลยีบนอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสารสมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์พกพา
  4.4เทคโนโลยี AR (Augmented Reality Technology
  4.5เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เสมือนจริง QTVR หรือ QuickTime VR
  4.6เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
  4.7เทคโนโลยีการปฏิสัมพันธ์ในการควบคุมคอมพิวเตอร์ด้วยท่าทางการเคลื่อนไหว
  4.8เทคโนโลยีการจดจำเสียง
  4.9เทคโนโลยีการหลอมรวมสื่อ
  4.10เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แบบสวมใส่

 5.สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านกระยวนการรูปแบบและเทคนิคการสอน คือ สภาพแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบที่จะสอดแทรกให้การเรียนรู้มีลักษณะที่น่าสนใจ โดยแนวโน้มมุ่งให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และสามารถเรียนรู้ได้ตามความต้องการ ซึ่งได้แก่
  5.1รูปแบบที่ท้าทายในการค้นหาคำตอบในรูปแบบ Challenge Based Learning
  5.2รูปแบบการสอนด้วยเทคนิคการเล่าเรื่องดิจิทัล
  5.3รูปแบบกระบวนการเรียนรู้แบบพลิกกลับ
  5.4รูปแบบการเรียนการสอนผสมผสานแบบยืดหยุ่น

4.เทคโนโลยีการเรียนรู้ด้วยGemification คืออะไรเหมือนหรือต่างจากเกม
ตอบ  เหมือนเกมเพราะว่าเทคโนโลยีการเรียนรู้ด้วยGemification เป็นการนำหลักการแนวคิดของการออกแบบเกมในโลกเสมือนจริงที่ทำให้คนชื่นชอบ เกิดความสนุกสนานเพื่อมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบกิจกรรมการดำเนินชีวิตและกิจกรรมต่างๆ กิจกรรมการแก้ปัญหาในโลกความเป็นจริงโดยใช้สถานการณ์เป็นฐาน

5.จงอธิบายความหมายของเทคโนโลยีการเรียนรู้ด้วยบทเรียนแบบเรียนเปิด(Open Coursewere:OCW)
ตอบ  รูปแบบการนำเสนอการเรียนรู้หลักสูตรต่างๆ ทางออนไลน์ ที่เข้าถึงผู้เรียนจำนวนมากๆ ได้ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ โดยส่วนใหญ่เป็นการให้บริการฟรี ซึ่ง MOOC นี้เป็นนวัตกรรมใหม่ของวงการการศึกษาของโลก โดยการนำเทคโนโลยีและวิธีการเรียนการสอนสมัยใหม่มาผสมผสานกัน ทำให้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงการศึกษาได้ผ่านช่องทางออนไลน์ซึ่งตอนนี้มีเครือข่ายครอบคลุมไปทั่วทุกมุมโลกแล้ว สิ่งที่ MOOC มีนอกเหนือจากสื่อประกอบการเรียนแบบปรกติ เช่น วีดิโอ หนังสือ และแบบฝึกหัดแล้ว ยังมีฟอรัม (Forum) ให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนสนทนาระหว่างนักเรียนด้วยกัน หรือกับผู้สอน และผู้ช่วยสอนได้อีกด้วย 

6.เทคโนโลยีการจัดการศึกษาหลักสูตรออนไลน์แบบเปิดและไม่จำกัดจำนวนผู้เรียน(Massive Open Online Course:Moocs)คืออะไรแตกต่างอย่างไรกับOpen Coursewere:OCW
ตอบ  MOOC นั้นถือว่าเป็น e-learning รูปแบบหนึ่ง คือ Fully Online learning แต่ที่ต่างกันคือ e-learning แบบเดิมๆ ส่วนใหญ่มักจะใช้เรียนกับนักเรียนในกลุ่มจำกัด เช่น ในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะเสียค่าเล่าเรียนรวมไปแล้ว แต่ก็มีสถาบันบางแห่งให้คนเสียเงินเรียนผ่านอีเลิร์นนิง และเมื่อจบแล้วก็ได้ประกาศนียบัตรหรือปริญญาบัตรจริงๆ แต่ในความหมายของ MOOC นั้นการเรียนการสอนจะกินวงกว้างกว่ามาก (จนถึงระดับทั่วโลก) ซึ่งความจริงมันก็มีมานานแล้วเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถ่ายทอดสดหรือแห้งแบบวิดีโอ โดยเฉพาะระบบการสอนของมหาวิทยาลัยเปิดต่างๆ  (โดยเฉพาะระดับโลก) มีปัญหาใหญ่ที่เป็นอุปสรรคกับคนธรรมดาที่ไม่ได้มีเงินมากมายที่จะเสียเงินเรียนกับสถาบันหรืออาจารย์เหล่านี้ได้ในวิชาที่ตัวเองสนใจ เพราะค่าเรียนนั้นแพงมาก ถึงมากที่สุด มหาวิทยาลัยดังๆ อย่างเช่น MIT และ Yale เป็นผู้ริเริ่มสร้างความรับชอบต่อสังคมในสิ่งที่ตัวเองทำเป็นอยู่แล้ว ก็คือเผยแพร่สื่อการเรียนการสอนฟรีทางออนไลน์ที่เรียกว่า OCW (Open CourseWare) ที่เรียกว่า MIT Open Courseware และ Yale Open CourseWare และมีการเผยแพร่การสอนฟรีทาง YouTube แต่มันก็เป็นแค่การเรียนและดูข้างเดียว ไม่สามารถตอบโต้ได้ ต่อมาจึงผู้คิดพัฒนาเทคโนยีและรูปแบบการสอนแบบ MOOC เน้นการโต้ตอบ มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ในบทเรียนได้ โดยผสมผสานเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมและเพิ่มเข้าไปใหม่ เพื่อเป็นการตอบโจทย์ที่ระบบออนไลน์เลิร์นนิงหรืออีเลิร์นนิงเดิมๆ ยังทำไม่ได้ และในปี 2012 นี่เองได้มีการถือกำเนิดผู้ให้บริการ MOOC ชื่อดังจากหลายมหาวิทยาลัยอย่างเช่น Udacity ก่อตั้งโดยมหาวิทยาลัย Stanford, edX ก่อตั้งโดยมหาวิทยาลัย Harvard และ MIT, Coursera ก่อตั้งโดย อาจารย์จากมหาวิทยาลัย Stanford และก่อนหน้านี้ก็มีเว็บไซต์ KhanAcademy.com ซึ่งเน้นการเรียนเรียนตั้งแต่ระดับประถมมัธยมเป็นหลัก ได้สร้างแนวทางของ MOOC ให้เป็นที่รู้จักมาก่อนแล้ว ส่วน MOOC ในยุคปัจจุบันมักจะหมายถึงการสอนระบบอุดมศึกษา (Higher Education) เป็นหลัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น