วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กิจกรรมท้ายบทที่12

กิจกรรมท้ายบทที่12

 นโยบายและระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา


1.  นโยบายมีความสำคัญต่องานเทคโนโลยีการศึกษาอย่างไรบ้าง
ตอบ  นโยบายมีความสำคัญต่องานเทคโนโลยีการศึกษาดังนี้
1.นโยบายเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการบริหารจัดการเทคโนโลยีการศึกษาของผู้บริหารให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
2.นโยบายช่วยให้การดำเนินงานเทคโนโลยีการศึกษาของระดับผู้บริหารและระดับปฏิบัติการเกิดความเชื่อมั่น
3.นโยบายช่วยให้เกิดการดำเนินงานเทคโนโลยีการศึกษาอย่างเป็นระบบและเกิดแนวทางในการประสานงานให้ปฏิบัติการดำเนินงานด้วยความสะดวก
4.นโยบายช่วยส่งเสริมกระบวนการคิดให้เกิดแนวทางการพัฒนางานเทคโนโลยีการศึกษาด้านต่างๆของภาระงานนั้นๆ
5.นโยบายช่วยให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือของฝ่ายงานต่างๆที่เกี่ยวกับภาระงานตามเป้าหมายของการดำเนินงานเทคโนโลยีการศึกษา
6.นโยบายที่ดีนั้นสามารถช่วยให้เกิดการปฏิรูปการดำเนินงานเทคโนโลยีการศึกษาเป็นไปอย่างมีเหตุผลและกระตุ้นให้การขับเคลื่อนแนวทางการปฏิบัติงานประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
7.นโยบายที่ดีนั้นสามารถส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับภาระงานเทคโนโลยีการศึกษาให้เกิดความเชื่อมั่น
8.นโยบายที่ดีนั้นสามารถช่วยส่งเสริมให้บุคคลทุกระดับในฝ่ายงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา เกิดความสามัคคี ทำงานเป็นทีม และมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน


2.  จงสรุปและวิเคราะห์นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีการศึกษามาเพิ่มประสิทธิภาพระบบการศึกษาตามอัธยาศัยมา 4 นโยบายพร้อมแหล่งอ้างอิง
ตอบ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
ส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้เรียนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้จากแหล่งและวิธีการที่หลากหลาย โดยจัดให้มีการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา พัฒนาหลักสูตรให้เอื้อต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนการสอน เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนทางไกล จัดให้มีศูนย์ข้อมูลสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Courseware Center) ให้มีการเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) จัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) จัดให้มีห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (Lifelong Learning) นำไปสู่สังคมแห่งคุณธรรมและสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาการบริหารจัดการและให้บริการทางการศึกษาพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ และพัฒนาบุคลากรทุกระดับที่เกี่ยวข้อง โดยความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาที่มีความพร้อมและเอกชน สร้างศูนย์ปฏิบัติการสารสนเทศ (Operation Center) เชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระดับชาติและระดับกระทรวง รวมทั้งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และให้บริการทางการศึกษา ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สอดคล้องกับการปฏิรูประบบราชการ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศผลิตและพัฒนาบุคลากร เพื่อรองรับความต้องการกำลังคนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยจัดให้มีการพัฒนาหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศในทุกระดับกรศึกษา พัฒนาผู้สอนและนักวิจัย ส่งเสริมการวิจัย และนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ รวมทั้งประสานความร่วมมือกับองค์กรของรัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ในการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการพัฒนาการศึกษาและอุตสาหกรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การกระจายโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาจัดให้มีและกระจายโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างทั่วถึง มุ่งเน้นการจัดหาและใช้ทรัพยากรทางด้านเครือข่ายร่วมกัน จัดหาระบบคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยร่วมมือกับภาครัฐ เอกชน ชุมชน และท้องถิ่น เตรียมบุคลากรปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้เพียงพอ รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่ม และการซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพในการใช้ปฏิบัติงานการนำนโยบายด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติของกระทรวงศึกษาธิการโดยเฉพาะนโยบาย 12 ข้อ มีความชัดเจนในนโยบายข้อที่ 3  ที่แสดงถึงความสำคัญโดยกำหนดเป็นนโยบายพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาและเครือข่ายสารสนเทศ (ปองพล อดิเรกสาร, 2546)
1.พัฒนาศักยภาพครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา และผู้บริหารให้เชี่ยวชาญในการใช้และพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. พัฒนาเนื้อหา สื่อ และซอฟต์แวร์
3. จัดวางโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาระบบ    เครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศให้ครอบคลุมสถานศึกษาทุกระดับและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการศึกษา
4. จัดซื้อ จัดหาระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์  สำหรับการเรียนการสอนและการบริหารจัดการ
5. จัดให้มีองค์กรหรือส่วนงานและบุคคลกำกับดูแลงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งการวิจัยพัฒนางานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

แหล่งที่มา https://www.gotoknow.org/posts/453507

3.  มิติสาระนโยบายของเทคโนโลยีการศึกษามีอะไรบ้าง
ตอบ   มิติที่1 มิติการแก้ปัญหาทางการศึกษา
         มิติที่ 2 มิติการพัฒนาประสิทธิภาพทางการศึกษา
         มิติที่ 3 มิติการก้าวทันความก้าวหน้าของสื่อและเทคโนโลยี
         มิติที่ 4 มิติการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
         มิติที่ 5 มิติการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
         มิติที่ 6 มิติการบริหารจัดการเทคโนโลยีการศึกษา

4.ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษามีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษามี2ประเภท
1.ระเบียบกฎหมายที่เป็นข้อกำหนดการปฏิบัติงาน
2.ระเบียบกฎหมายที่เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติมิให้ล่วงระเมิดการกระทำผิด

5.การนำภาพจากสื่อสิ่งพิมพ์ อินเทอร์เน็ต มาประกอบการผลิตสื่อการสอน ต้องทำอย่างไรจึงจะไม่ละเมิดลิขสิทธิ์
ตอบ  การนำภาพจากสื่อสิ่งพิมพ์ อินเทอร์เน็ต มาประกอบการผลิตสื่อการสอนต้องมีการขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์

6.การสำเนาโดยการถ่ายเอกสารหนังสือทั้งเล่ม เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ  การสำเนาโดยการถ่ายเอกสารหนังสือทั้งเล่มเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะเป็นการขัดต่อการได้รับผลประโยชน์จากงานอันมิลิขสิทธิ์ของหนังสือเล่มนั้น

7.จงอธิบายความหมาของคำว่า ''งานดัดแปลง'' ตามคำนิยามของสัญญาอนุญาตด้านลิขสิทธิ์สากลครีเอทีฟคอมมอนส์ ประเทศไทย
ตอบ ''งานดัดแปลง'' หมายถึง งานที่ทำซ้ำโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมหรือจำลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

8.
 สัญลักษณ์นี้หมายถึงอะไร
ตอบ
สัญญาอนุญาตด้านลิขสิทธิ์สากลครีเอทีฟคอมมอนส์

แสดงที่มา

ไม่ใช้เพื่อการค้า

ไม่ดัดแปลง

9.การส่งสแปมเมล์(Spam Mail)เป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 หรือไม่ อย่างไร
ตอบ การส่งสแปมเมล์(Spam Mail)เป็นการกระทำความผิดมาตรา 11 สแปมเมล์ถ้าผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข 
10.การเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือว่าบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนเป็นการกระทำความผิดกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 อย่างไร จงอธิบาย 
ตอบ การเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือว่าบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนเป็นการกระทำความผิดกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในมาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น

กิจกรรมท้ายบทที่ 13

กิจกรรมท้ายบทที่ 13
แนวโน้มเทคโนโลยีการศึกษาจากปัจจุบันสู่อนาคตใหม่

1.จงเขียนตารางวิเคราะห์วิเคราะห์เปรียบเทียบบทบาทเทคโนโลยีการศึกษาต่อการจัดการศึกษาในปัจจุบันและอนาคต
ตอบ  


2.จงอธิบายบทบาทของครูผู้สอนกับการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต
ตอบ  ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
ส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้เรียนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้จากแหล่งและวิธีการที่หลากหลาย โดยจัดให้มีการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา พัฒนาหลักสูตรให้เอื้อต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนการสอน เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนทางไกล จัดให้มีศูนย์ข้อมูลสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Courseware Center) ให้มีการเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) จัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) จัดให้มีห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (Lifelong Learning) นำไปสู่สังคมแห่งคุณธรรมและสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาการบริหารจัดการและให้บริการทางการศึกษาพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ และพัฒนาบุคลากรทุกระดับที่เกี่ยวข้อง โดยความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาที่มีความพร้อมและเอกชน สร้างศูนย์ปฏิบัติการสารสนเทศ (Operation Center) เชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระดับชาติและระดับกระทรวง รวมทั้งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และให้บริการทางการศึกษา ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สอดคล้องกับการปฏิรูประบบราชการ
1.ผู้คอยชี้แนะและกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเองจากการลงมือปฏิบัติ
       2.มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการพัฒนาตนเอง เพื่อนำ            มาปรับวิธีสอน
       3.อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้ออกแบบและนำเสนอความรู้อย่างสร้างสรรค์
       4.ชี้แนวทางให้ผู้เรียนวิเคราะห์ สังเคราะห์ด้วยตนเองและแลกเปลี่ยนความรู้
       5.ใช้การประเมินจากสภาพจริง และประเมินผลงานจากการปฏิบัติ
       6.สวมบทบาทพี่เลี้ยงคอยช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
       7.กำหนดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม และยืดหยุ่นในการเรียนรู้ตามขอบเขตที่กำหนดไว้
       8.เป็นผู้ร่วมเรียนรู้ ร่วมแก้ปัญหา ร่วมกับผู้เรียน
       9.เสนอแนะให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการแสวงหาความรู้
      10.มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ประสบการณ์ตรงจากผู้เรียนก่อให้เกิดทักษะในการแสวงหาความรู้
      11.เป็นผู้ตั้งคำถามเพื่อให้ผู้เรียนตื่นตัวที่จะค้นหาคำตอบ
      12.ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้งานวิจัยเป็นฐาน
      13.สามารถเชื่อมโยงกิจกรรมกราเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดทักษะการใช้ชีวิต
      14.ต้องรูเท่าทันสื่อ สามารถวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และใช้อย่างสร้างสรรค์ อย่างมีคุณธรรมและตามกฎหมาย

3.สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในอนาคตด้านเทคโนโลยีมีอะไรบ้าง
ตอบ  สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในอนาคตจะเป็นสภาพแวดล้อมแบบเปิด (Open Learning Environment) ดังรายละเอียดต่อไปนี้

 1.สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านสังคมภาพ คือการออกแบบการเรียนรู้ในอนาคตที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ และเปิดกว้างมากยิ่งขึ้นโดยให้ผู้เรียนได้ใช้เครื่องมือในสื่อสังคมออนไลน์ในการสร้างกลุ่มเครือข่ายการเรียนรู้ในลักษณะเรียลไทม์

 2.สภาพแวดล้อมทางจิต คือ เป็นสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อความรู้สึก ที่ผู้ออกแบบจำเป็นต้องอาศัยความละเอียดอ่อน ในการสังเกต และสร้างให้เกิดภายในจิตใจของผู้เรียน

3.สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางกายภาพ คือ เป็นสภาพแวดล้อมที่สามารถมองเห็นเป็นรูปธรรมสัมผัสได้ในอนาคตนั้นมีการออกแบบพื้นที่โดยมีอุปกรณ์และเครื่องมืออำนวยความสะดวกที่สามารถเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ โดนแบ่งเป็นทั้งหมด6โซนดังนี
  3.1พื้นที่ปฏิสัมพันธ์
  3.2พื้นที่สำหรับการนำเสนอ
  3.3พื้นที่สำหรับสืบสวนค้นหาข้อสรุป
  3.4ห้องสร้างสรรค์
  3.5ห้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  3.6ห้องพัฒนาปรับปรุง

 4.สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางเทคโนโลยี คือ มีการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารนอกจากที่จะเข้าถึงเนื้อหาการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้นและตรงความต้องการของผู้เรียน ซึ่งได้แก่
  4.1ยุคเว็บ3.0
  4.2เทคโนโลยีการบริการทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในรูปแบบของประมวลผลกลุ่มก้อนเมฆหรือCloud Computing
  4.3เทคโนโลยีบนอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสารสมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์พกพา
  4.4เทคโนโลยี AR (Augmented Reality Technology
  4.5เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เสมือนจริง QTVR หรือ QuickTime VR
  4.6เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
  4.7เทคโนโลยีการปฏิสัมพันธ์ในการควบคุมคอมพิวเตอร์ด้วยท่าทางการเคลื่อนไหว
  4.8เทคโนโลยีการจดจำเสียง
  4.9เทคโนโลยีการหลอมรวมสื่อ
  4.10เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แบบสวมใส่

 5.สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านกระยวนการรูปแบบและเทคนิคการสอน คือ สภาพแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบที่จะสอดแทรกให้การเรียนรู้มีลักษณะที่น่าสนใจ โดยแนวโน้มมุ่งให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และสามารถเรียนรู้ได้ตามความต้องการ ซึ่งได้แก่
  5.1รูปแบบที่ท้าทายในการค้นหาคำตอบในรูปแบบ Challenge Based Learning
  5.2รูปแบบการสอนด้วยเทคนิคการเล่าเรื่องดิจิทัล
  5.3รูปแบบกระบวนการเรียนรู้แบบพลิกกลับ
  5.4รูปแบบการเรียนการสอนผสมผสานแบบยืดหยุ่น

4.เทคโนโลยีการเรียนรู้ด้วยGemification คืออะไรเหมือนหรือต่างจากเกม
ตอบ  เหมือนเกมเพราะว่าเทคโนโลยีการเรียนรู้ด้วยGemification เป็นการนำหลักการแนวคิดของการออกแบบเกมในโลกเสมือนจริงที่ทำให้คนชื่นชอบ เกิดความสนุกสนานเพื่อมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบกิจกรรมการดำเนินชีวิตและกิจกรรมต่างๆ กิจกรรมการแก้ปัญหาในโลกความเป็นจริงโดยใช้สถานการณ์เป็นฐาน

5.จงอธิบายความหมายของเทคโนโลยีการเรียนรู้ด้วยบทเรียนแบบเรียนเปิด(Open Coursewere:OCW)
ตอบ  รูปแบบการนำเสนอการเรียนรู้หลักสูตรต่างๆ ทางออนไลน์ ที่เข้าถึงผู้เรียนจำนวนมากๆ ได้ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ โดยส่วนใหญ่เป็นการให้บริการฟรี ซึ่ง MOOC นี้เป็นนวัตกรรมใหม่ของวงการการศึกษาของโลก โดยการนำเทคโนโลยีและวิธีการเรียนการสอนสมัยใหม่มาผสมผสานกัน ทำให้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงการศึกษาได้ผ่านช่องทางออนไลน์ซึ่งตอนนี้มีเครือข่ายครอบคลุมไปทั่วทุกมุมโลกแล้ว สิ่งที่ MOOC มีนอกเหนือจากสื่อประกอบการเรียนแบบปรกติ เช่น วีดิโอ หนังสือ และแบบฝึกหัดแล้ว ยังมีฟอรัม (Forum) ให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนสนทนาระหว่างนักเรียนด้วยกัน หรือกับผู้สอน และผู้ช่วยสอนได้อีกด้วย 

6.เทคโนโลยีการจัดการศึกษาหลักสูตรออนไลน์แบบเปิดและไม่จำกัดจำนวนผู้เรียน(Massive Open Online Course:Moocs)คืออะไรแตกต่างอย่างไรกับOpen Coursewere:OCW
ตอบ  MOOC นั้นถือว่าเป็น e-learning รูปแบบหนึ่ง คือ Fully Online learning แต่ที่ต่างกันคือ e-learning แบบเดิมๆ ส่วนใหญ่มักจะใช้เรียนกับนักเรียนในกลุ่มจำกัด เช่น ในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะเสียค่าเล่าเรียนรวมไปแล้ว แต่ก็มีสถาบันบางแห่งให้คนเสียเงินเรียนผ่านอีเลิร์นนิง และเมื่อจบแล้วก็ได้ประกาศนียบัตรหรือปริญญาบัตรจริงๆ แต่ในความหมายของ MOOC นั้นการเรียนการสอนจะกินวงกว้างกว่ามาก (จนถึงระดับทั่วโลก) ซึ่งความจริงมันก็มีมานานแล้วเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถ่ายทอดสดหรือแห้งแบบวิดีโอ โดยเฉพาะระบบการสอนของมหาวิทยาลัยเปิดต่างๆ  (โดยเฉพาะระดับโลก) มีปัญหาใหญ่ที่เป็นอุปสรรคกับคนธรรมดาที่ไม่ได้มีเงินมากมายที่จะเสียเงินเรียนกับสถาบันหรืออาจารย์เหล่านี้ได้ในวิชาที่ตัวเองสนใจ เพราะค่าเรียนนั้นแพงมาก ถึงมากที่สุด มหาวิทยาลัยดังๆ อย่างเช่น MIT และ Yale เป็นผู้ริเริ่มสร้างความรับชอบต่อสังคมในสิ่งที่ตัวเองทำเป็นอยู่แล้ว ก็คือเผยแพร่สื่อการเรียนการสอนฟรีทางออนไลน์ที่เรียกว่า OCW (Open CourseWare) ที่เรียกว่า MIT Open Courseware และ Yale Open CourseWare และมีการเผยแพร่การสอนฟรีทาง YouTube แต่มันก็เป็นแค่การเรียนและดูข้างเดียว ไม่สามารถตอบโต้ได้ ต่อมาจึงผู้คิดพัฒนาเทคโนยีและรูปแบบการสอนแบบ MOOC เน้นการโต้ตอบ มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ในบทเรียนได้ โดยผสมผสานเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมและเพิ่มเข้าไปใหม่ เพื่อเป็นการตอบโจทย์ที่ระบบออนไลน์เลิร์นนิงหรืออีเลิร์นนิงเดิมๆ ยังทำไม่ได้ และในปี 2012 นี่เองได้มีการถือกำเนิดผู้ให้บริการ MOOC ชื่อดังจากหลายมหาวิทยาลัยอย่างเช่น Udacity ก่อตั้งโดยมหาวิทยาลัย Stanford, edX ก่อตั้งโดยมหาวิทยาลัย Harvard และ MIT, Coursera ก่อตั้งโดย อาจารย์จากมหาวิทยาลัย Stanford และก่อนหน้านี้ก็มีเว็บไซต์ KhanAcademy.com ซึ่งเน้นการเรียนเรียนตั้งแต่ระดับประถมมัธยมเป็นหลัก ได้สร้างแนวทางของ MOOC ให้เป็นที่รู้จักมาก่อนแล้ว ส่วน MOOC ในยุคปัจจุบันมักจะหมายถึงการสอนระบบอุดมศึกษา (Higher Education) เป็นหลัก

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กิจกรรมท้ายบทที่ 11

กิจกรรมท้ายบทที่ 11การใช้แหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้


1.จงอธิบายความหมายของแหล่งการเรียนรู้
ตอบ  แหล่งการเรียนรู้ หมายถึง ศูนย์รวมขององค์ความรู้ทั้งที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ บุคคล สิ่งประดิษฐ์ วัตถุ อาคาร สถานที่ ตลอดจนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีอยู่อย่างกระจัดกระจาย และมากมายทุกแห่งหน อันเป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญาที่แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของมนุษย์

2.ให้ยกตัวอย่างของประเภทแหล่งการเรียนรู้มาประเภทละ 5 แหล่งการเรียนรู้ พร้อมองค์ความรู้แหล่งการเรียนรู้นั้นๆ
ตอบ 1.แหล่งการเรียนรู้ประเภทบุคคล
1.1นายดำน้ำหยด เกษตรกรหมู่บ้านไร่อ้อย ตำบลขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ที่ได้สามารถคิด วิธีการให้น้ำต้นไม้แบบหยด หรือเรียกว่า  “ระบบน้ำหยด”
1.2เจ๊กิม ผู้บุกเบิกขนมเบื้องปากช่องเป็นที่รู้จักทั่วประเทศ
1.3ครูดวงดาว โรงเรียนปากช่อง ครูดีเด่นของคุรุสภา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ปี พ.ศ 2552
1.4แม่กิมเนีย  ที่มีความถนัดทางด้านปรุงแต่งขนมสาคู จ. นครราชสีมา
1.5เฮียเอี่ยม  เจ้าของโรงแป้งมันสำปะหลังที่ใหญ่ที่สุดใน จ.นครราชสีมา
2.แหล่งการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ
2.1 อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.นครราชสีมา
2.2 อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
2.3 น้ำตกสาลิกา
2.4อุทยานแห่งชาติน้ำตกปางสีดา
2.5 อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ
3.แหล่งการเรียนรู้ประเภทสื่อ
3.1 หนังสือพิมพ์
3.2 สื่อสารคดี
3.3 การใช้สื่อวิดีโอในการสอน
3.4 เทปวีดิโอ
3.5 โปสเตอร์
4.แหล่งการเรียนรู้ประเภทวัตถุและอาคารสถานที่
4.1 พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
4.2 สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
4.3 พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย
4.4 สวนสัตว์ดุสิต
4.5  พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี
5.แหล่งการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
5.1 เว็บไซต์อาเซียนแห่งประเทศไทย
5.2  เว็บไซต์สารคดีไทย
5.3 เว็บไซต์มหาลัยต่างๆ
5.4 เว็บไซต์สื่อโซเชียลต่างๆ
5.5 เว็บไซต์วงการศึกษาไทย

3.จงบอกเกณฑ์การประเมินแหล่งการเรียนรู้
ตอบ1. อะไร คือ องค์ความรู้ของแหล่งการเรียนรู้
2. ใคร คือ กลุ่มเป้าหมายหลัก/กลุ่มผู้เรียนหลัก
3.วิธีจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนแค่ละกลุ่ม
3.1 รูปแบบ / วิธีการ / เทคนิคการนำเสนอ
3.2 วิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และกลุ่มผู้เรียน
3.3การเชื่อมโยงกับการศึกษา ในระบบ นอก ระบบ ตามอัธยาศัย
4.กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เรียน เรียนรู้เพื่ออะไร
4.1 ความรู้ ความเข้าใจ
4.2 ทักษะ
4.3 อาชีพ
4.4 ความบันเทิง สันทนาการ
5.การเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้นั้นๆ

4.จงวิเคราะห์ว่า แหล่งการเรียนรู้ มีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างไร
ตอบ  พัฒนาผู้เรียนในหลายๆด้านทั้งทางด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา

5.หลักในการเชื่อโยงแหล่งการเรียนรู้มีอะไรบ้าง
ตอบ       
1.       ใช้กิจกรรมเทคนิควิธีการสอนเป็นการเชื่อมโยง เช่น เกม เพลง เป็นต้น
2.       ใช้การศึกษานอกสถานที่ และประสบการณ์การเรียนรู้เชื่อมโยง
3.       ใช้การบูรณาการกิจกรรมการเรียนการสอนกับแหล่งการเรียนรู้
4.       ใช้สื่อการสอนในการเชื่อมโยง
5.       ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการเชื่อมโยง
6.       ใช้กิจกรรมการรู้ร่วมกัน และการสัมมนา เสวนาเพื่อแบ่งปันองค์ความรู้
7.       ใช้นิทรรศการ และการจัดกิจกรรมเพื่อการนำเสนอแหล่งการเรียนรู้

6.จงอธิบายความหมายของเครือข่ายการเรียนรู้
ตอบ การประสานเชื่อมโยงจากจุดหนึ่งซึ่งเป็นแหล่งความรู้  ข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบเผชิญหน้าและรูปแบบออนไลน์ ตลอดจนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีการศึกษาไปอีกจุดหนึ่ง  โดยมีเป้าหมายที่ก่อให้เกิดความร่วมมือในการใช้ทรัพยากร การใช้ความรู้ และการดำเนินงานอย่างมีวัตถุประสงค์ที่สอดคล้อง เชื่อมโยงสัมพันธ์กันเพื่อให้เกิดการแบ่งปันความรู้

7.ประเภทของเครือข่ายการเรียนรู้ว่ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ มี  4 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มที่ 1.   ประเภทของเครือข่ายการเรียนรู้กลุ่มที่แบ่งตามเป้าหมายของกลุ่มการเรียนรู้
1.1 เครือข่ายการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นตอบสนองความต้องการแนวนโยบายในกรจัดการศึกษา
1.2 เครือข่ายการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล
1.3 เครือข่ายการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการสนองตอบกลุ่มบุคคล ชุมชน สังคม
กลุ่มที่ 2    เครือข่ายการเรียนรู้แบ่งตามโครงสร้างการเรียนรู้และความสัมพันธ์ แบ่งได้ 4 ประเภท ได้แก่   2.1 เครือข่ายตามพื้นที่ดำเนินงาน
2.2 เครือข่ายตามประเภทกิจกรรมหรือประเด็นปัญหา
2.3 เครือข่ายตามอาชีพ หรือสถานภาพทางสังคม
2.4 เครือข่ายตามรูปแบบโครงสร้างตามสายงาน
2.4.1 เครือข่ายตามแนวตั้ง
2.4.2 เครือข่ายตามแนวนอน
กลุ่มที่3    เครือข่ายการเรียนรู้แบ่งตามลักษณะการประสานงาน แบ่งได้ 5 ประเภท ได้แก่
3.1  เครือข่ายการเรียนรู้ตามลักษณะการประสานงานแบบกระจายศูนย์
3.2 เครือข่ายการเรียนรู้ตามลักษณะการประสานงานแบบศูนย์กลาง
3.3 เครือข่ายการเรียนรู้ตามลักษณะการประสานงานแบบตามลำดับขั้น
3.4 เครือข่ายการเรียนรู้ตามลักษณะการประสานงานแบบผสมผสาน
3.5 เครือข่ายการเรียนรู้ในลักษณะการประสานงานแบบยืดหยุ่น
กลุ่มที่ 4    เครือข่ายการเรียนรู้แบ่งตามรูปแบบ แบ่งออกได้ 3 รูปแบบ ได้แก่
4.1 รูปแบบของเครือข่ายที่เกิดจากการมีส่วนเกี่ยวข้องกัน
4.2 รูปแบบของเครือข่ายตามสถานที่
4.3 รูปแบบเครือข่ายที่พิจารณาจากลักษณะโครงสร้างและเป้าหมายของระบบการศึกษา

8.องค์ประกอบของเครือข่ายการเรียนรู้มีอะไรบ้าง
ตอบ
1.       สมาชิกเครือข่าย
2.       กรรมการและผู้ประสานงาน
3.       เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ต้องมีความชัดเจน
4.       กิจกรรมเครือข่าย
5.       เครื่องมือในการประสานงานเชื่อมโยง

9.จงบอกวิธีการประเมินเครือข่ายการเรียนรู้
ตอบ แนวทางการประเมิน 3 P ได้แก่
P1 (Process) คือ การประเมินผลการเรียนรู้ที่สมาชิกในเครือข่ายได้เข้าร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งสามารถใช้การประเมินจริงได้อย่างครอบคลุม
P2 (Progress) คือ การประเมินผลความก้าวหน้าของเครือข่ายการเรียนรู้ที่ครอบคลุมวัตถุปะสงค์ ตัวชี้วัด ตามเป้าหมายของการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้เป็นระยะๆ
P3 (Performance) คือ การประเมินผลสิ่งที่สมาชิกเครือข่ายการเรียนรู้สามารถปฏิบัติได้ในลักษณะผลการดำเนินงานที่แสดงออกมาว่ามีศักยภาพของสมาชิกเครือข่ายในระดับใด

10.จงวิเคราะห์ว่าแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างไร
ตอบ  แหล่งการเรียนรู้ นั้นเป็นศูนย์รวมขององค์ความรู้ทั้งที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ บุคคล สิ่งประดิษฐ์ วัตถุ อาคาร สถานที่ ตลอดจนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีอยู่กระจัดกระจาย และมามายทั่วทุกหนทุกแห่งเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ไม่รู้สุดไม่รู้จบ  รวมทั้งสามารถบูรณาการเข้ากับระบบการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย  สามารถเข้าถึงได้กับผู้ที่สนใจและผู้เรียนทุกคน ดังนั้นการที่จะเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ได้นั้นต้องมีการเชื่อมโยงกับเนื้อหาสาระ  ยิ่งไปกว่านั้นการใช้แหล่งการเรียนรู้จะส่งผลสำเร็จได้ต้องมีการเรียนรู้ร่วมกันผ่านช่องทางการประสานงานที่มีความสัมพันธ์กับเป้าหมายในการเรียนรู้โดยสามารถสานสัมพันธ์ได้โดนร่วมมือกันเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ ที่มีการติดต่อเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และร่วมมือกัน

กิจกรรมท้ายบทที่ 10

กิจกรรมท้ายบทที่ 10
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา

1.ปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อการจัดการศึกษาอย่างไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ 
1.มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดการข้อมูลงานทะเบียนต่างๆ เช่น งานทะเบียนนักเรียน นักศึกษา เป็นต้น
2.มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดการด้านการประเมินผลการเรียนการสอน ประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา เช่น การประมวลผลการคัดเลือกผู้เรียนเพื่อเข้าศึกษาต่อ การจบการศึกษา
3.มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดระบบข่าวสาร เช่น ประชาสัมพันธ์ของสถานศึกษาผ่านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
4.มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดการงานห้องสมุด เช่น การนำระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยในการให้บริการยืมคืนลงทะเบียนสื่อต่างๆที่เกี่ยวกับงานห้องสมุด
5.มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาเป็นเครื่องมือช่วยสอน เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสอน
6.มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาช่วยขยายโอกาสทางการศึกษา เช่น ระบบประชุมทางไกลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

2.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ มี 3 ประเภท ได้แก่
1.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการบริหารจัดการศึกษา
2.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการเรียนการสอน
3.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการถ่ายทอดและนำเสนอข้อมูลอย่างสร้างสรรค์

3.ระบบปฏิบัติคอมพิวเตอร์มีกี่ชนิดอะไรบ้าง
ตอบ มี 8 ชนิด ดังนี้
1.ระบบปฏิบัติการ DOS (Disk Operating System)
2.ระบบปฏิบัติการ Windows
3.ระบบปฏิบัติการ IOS
4.ระบบปฏิบัติการ APPLE Mac OS X
5.ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX)
6.ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ (Linux)
7.ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android)
8.ระบบปฏิบัติการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เสมือนจริง (Virtual Machine)

4.จงอธิบายลักษณะของคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อการศึกษา
ตอบ  คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อการศึกษามีลักษณะที่สำคัญคือรูปแบบในการถ่ายทอดสารสนเทศนั้นมี 7 ลักษณะ ซึ่งได้แก่
1.ตัวอักษรหรือข้อความ ตัวอักษรและข้อความเพื่อให้ผู้เรียนได้อ่าน และเกิดกระบวนการเรียนรู้
2.ภาพประกอบ เป็นการนำเสนอภาพเพื่อสื่อสารเนื้อหาจากนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
3.เสียงประกอบ เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดความรู้สึกที่อยากเรียนรู้มากยิ่งขึ้นจากบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย
4.จิตวิทยาสี การใช้สีสันในการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านจิตภาพทำให้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียน่าสนใจ และอ่านง่าย
5.ภาพเคลื่อนไหว ทำให้บทเรียนคอมพิวเตอร์น่าสนใจซึ่งต้องใช้หลักการโดยการนำเสนอภาพหลายๆเฟรมมาต่อกันทำให้เกิดภาพเคลื่อนไหว
6.ภาพวีดิทัศน์ สามารถนำเสนอเรื่องราวในบทเรียนคอมพิวเตอร์ให้น่าสนใจ
7.การมีปฏิสัมพันธ์ เป็นรูปแบบการให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมและโต้ตอบกับบทเรียนคอมพิวเตอร์

5.ช่องทางการนำเสนอคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อการศึกษากี่ช่องทางอะไรบ้าง
ตอบ มี 3 ช่องทาง ได้แก่
1.นำเสนอผ่านอุปกรณ์บันทึกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
2.นำเสนอผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
3.นำเสนอผ่านเครือข่ายอินทราเน็ต

6.จงอธิบายวิธีการประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อการศึกษา
ตอบ การประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อการศึกษามีอยู่ 2 ส่วนหลัก คือ
ส่วนที่ 1 ตรวจสอบเพื่อประเมินคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย นั้นมีองค์ประกกอบ ได้แก่
1.1 ส่วนนำของบทเรียน มีข้อมูลพื้นฐานบทเรียนที่จำเป็น มีเส้นทางเดินของบทเรียนที่เหมาะสม
1.2 ส่วนเนื้อหาสาระของบทเรียน พิจารณาด้านเนื้อหาโครงสร้างชัดเจน ถูกต้อง มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
1.3 ส่วนออกแบบระบบการเรียนการสอน มีความยืดหยุ่น สนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ควบคุมลำดับเนื้อหาบทเรียนได้
1.4 ส่วนประกอบของมัลติมีเดีย การออกแบบหน้าจอมีความเหมาะสมง่ายต่อการใช้กราฟิก
1.5 ส่วนปฏิสัมพันธ์ การออกแบบหน้าจอให้ง่าย สะดวก โต้ตอบกับผู้เรียนสม่ำเสมอ ควบคุมเส้นทางเดินของบทเรียนได้ชัดเจนเหมาะสม
1.6 ส่วนประเมินการเรียนรู้ ต้องให้สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ ความยากง่ายเหมาะสม ส่งเสริมทักษะการคิด การประยุกต์ใช้
1.7 องค์ประทั่วไป ติดตั้งง่ายสะดวกอุปกรณ์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
ส่วนที่ 2 ตรวจสอบเพื่อทดลองหาประสิทธิภาพของบทเรียน โดยเป็นการนำบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียไปทดลองกับผู้เรียนในสถานการณ์จริง

7.ความสำคัญของแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาอะไรบ้าง
ตอบ
1.เป็นเครื่องมือที่ตอบสนองการเรียนรู้รายบุคคล
2.เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
3.เป็นเครื่องมือที่ตอบสนองการเรียนรู้ตลอดชีวิต
4.เป็นเครื่องมือสื่อการเรียนการสอนประกอบเนื้อหาวิชา
5.เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการติดต่อสื่อสาร
6.เป็นเครื่องมือในการบันทึกข้อมูล
7.เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดเก็บสารสนเทศข้อมูลในรูปแบบของมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน
8.เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

8.จงอธิบายและเขียนแผนภาพขอบข่ายการใช้คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา
ตอบ  

9.จงอธิบายหลักการประเมินผลการใช้แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
ตอบ หลักการประเมินผลการใช้แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วย 3 P ได้แก่
1.ประเมินผลกระบวนการใช้งาน (Process) ของคอมพิวเตอร์ เป็นการตรวจสอบคุณภาพในด้านทางเทคนิคของคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต
2.ประเมินความเหมาะสม (Propriety) เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนแต่ละช่วงวัย ตลอดจนแอป-ลิเคชั่นต่างๆนั้นสามารถเอื้ออำนวยความสะดวก และเหมาะสมให้กับผู้เรียนมากน้อยเพียงไร
3.ประเมินผลความก้าวหน้า (Progress) การตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียนรู้เมื่อนำแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์มาใช้จัดการศึกษานั้นครอบคลุมความรู้ตามเป้าหมายของการเรียนรู้เป็นระยะๆ

กิจกรรมท้ายบทที่ 9

กิจกรรมท้ายบทที่ 9

1.      จงอธิบายถึงคุณค่าและการใช้เทคโนโลยี Cloud computing เพื่อการศึกษา
 ตอบ  คุณค่าของเทคโนโลยี Cloud computing
1.ลดความซับซ้อนยุ่งยากของผู้ต้องการใช้บริการ
2.ช่วยประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่าย
3.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการกับข้อมูล คือ ข้อมูลสารสนเทศที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา เนื่องจากปัจจุบัน ข้อมูลมีการอัพเดทตลอดเวลา ทำให้ข้อมูลสารสนเทศมีมากมายมหาศาล ด้วยสมรรถนะของเทคโนโลยี Cloud computing เข้ามาช่วยในการจัดการกับข้อมูลในการให้บริการได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึงความต้องการของผู้ใช้
 การใช้เทคโนโลยี Cloud computing เพื่อการศึกษา
 เทคโนโลยี Cloud computing เป็นบริการพื้นฐานของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ให้ความสะดวกกับผู้ใช้โดยไม่ต้องผ่านแม่ข่าย หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ซึ่งเทคโนโลยี Cloud computing นี้สามารถให้บริการทั้งเก็บข้อมูลสารสนเทศ และสามารถเรียกคืนสารสนเทศดังกล่าวได้อย่างสะดวก ซึ่งส่งผลให้นำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษาซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1.ประยุกต์ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างในการทำกิจกรรมการเรียนการสอน
2.การประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์บทเรียน สื่อการเรียนการสอน
3.การประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์ของผู้สอน
4.การประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaboration)
5.การประยุกต์ใช้ในการให้บริการงานห้องสมุด

2.      จงอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างเทคโนโลยี Web 2.0 และ Web 3.0 พร้อมประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษา
ตอบ  Web 2.0 = Read/Write, dynamic data through web services
 Web 3.0 = Read/Write/Relate, data with structured metadata + managed identity
 ในยุคของ Web 2.0 บุคคลทั่วไปคือผู้สร้างเนื้อหา และนำเสนอข้อมูลต่างๆจาก Web 2.0 ในเปลือกนัท ทำให้เราเข้าใจว่านั่นเป็นเรื่องของการแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกันอย่างแท้จริง โดยการสร้างเสริมข้อมูลสารสนเทศ ให้มีคุณค่าและมีข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด ดังตัวอย่างที่เป็นสิ่งที่ทุกคนคงรู้จักกันดีอย่าง Wikipedia ทำให้ความรู้ถูกต่อยอดไปอยู่ตลอดเวลา ข้อมูลทุกอย่างได้มาจากการเติมแต่งอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เกิดจากการคานอำนาจของข้อมูลของแต่ละบุคคลทำให้ข้อมูลนั้นถูกต้องมากที่สุดและจะถูกมากขึ้นเมื่อเรื่องนั้นถูกขัดเกลามาตามระยะเวลายาวนานและวันนี้ Web 3.0 กำลังจะมาเป็นการนำแนวคิดของ Web 2.0 มาทำให้ Web นั้นสามารถจัดการข้อมูลจำนวนมากๆ โดยอย่างที่เรารู้กันดีว่าผู้ใช้ทั่วไปนั้นเป็นผู้สร้างเนื้อหา ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น เช่นการเขียน Blog, การแชร์รูปภาพและไฟล์มัลติมีเดียต่างๆ ทำให้ข้อมูลมีจำนวนมหาศาล ทำให้จำเป็นต้องมีความสามารถในการข้อมูลดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเอาข้อมูลต่างๆเหล่านั้นมาจัดการให้อยู่ในรูปแบบ Metadata ที่หมายถึงข้อมูลที่บอกรายละเอียดของข้อมูล (Data about data) ทำให้เว็บกลายเป็น Semantic Web กล่าวคือเว็บที่ใช้ Metadata มาอธิบายสิ่งต่างๆบนเว็บ ซึ่งในตอนนี้เราจะเห็นกันทั่วไปนั่นคือ Tag นั้นเอง โดยที่ Tag ก็คือคำสั้นๆหลายๆคำ ที่เป็นหัวใจของเนื้อหา เพื่อทำให้เราสามารถเข้าถึงเนื้อหาต่างๆได้ด้วยการใช้ Tag ต่างๆเพื่อเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง แต่แทนที่ผู้ผลิตเนื้อหาจะใส่เอง แต่ตัว Web จะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น แล้วให้Tags ตามความเหมาะสมให้เราแทนโดยเมื่อได้ Tag มาแล้ว ข้อมูลแต่ละ Tag จะมีความสัมพันธ์กับอีก Tag โดยปริยาย เช่นข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท Apple ก็จะมี Tag ที่เกี่ยวกับ Computer, iPod, iMac …และ Tag ที่มีเนื้อหา Computer ก็มี Tag ที่เชื่อมโยงกับ Tag ที่มีเนื้อหาด้าน Electronic โดยจะเชื่อมโยงแบบนี้ไปเรื่อยๆ ทำให้ข้อมูลมีการเชื่อมโยงกันเหมือนฐานข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันในเชิงข้อมูล ทำให้อินเตอร์เน็ตกลายเป็นฐานข้อมูลความรู้ขนาดใหญ่ ที่ข้อมูลทุกอย่างถูกเชื่อมต่อกันอย่างเป็นระบบมากขึ้นเปรียบเทียบไว้ว่า Web 2.0 ผู้เข้าชมสามารถอ่านและเขียนได้ (read-write) เจ้าของเว็บสร้างระบบและเนื้อหาบนเว็บ ผู้เข้าชมสร้างเนื้อหาบนระบบเดียวกับเจ้าของเว็บแล้วให้ผู้ชมอื่นๆ ได้ดูต่อ จนเป็นที่มาของ Social Network แต่พอมาเป็น Web 3.0 จะกลายเป็น อ่าน/เขียน/จัดการ ได้สามอย่างพร้อมกัน (read-write-execute) คราวนี้ความสามารถของมันก็จะมากมายมหาศาล แทนที่จะเข้าไปอ่านและเพิ่มข้อมูล เราก็จะสามารถปรับแต่งแก้ไขข้อมูลหรือระบบได้เองอย่างอิสระมากขึ้น Web 3.0 แทนที่เราจะค้าหาข้อมูลใดสักตัวแล้วไปเจอแต่ข้อความน่าเบื่อ คราวนี้เราจะสามารถไปเจอข้อมูลอื่นๆ ได้อีกด้วย โดยไม่จำเป็นจะต้องเป็นข้อความเสมอไปดังนั้น Web 3.0 คือเทคโนโลยีหรือแนวความคิดที่จะเชื่อมโยงข้อมูลใน Web ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกันทั้งภายใน Web หรือภายในเครือข่ายของโลก ซึ่งมองไปแล้วมันก็คือ Database ของโลกเลย แต่ก็เป็นแนวคิดที่จะทำให้หาข้อมูลที่ต้องการได้ง่ายขึ้น ซึ่งก็จะมี format ข้อมูลในการติดต่อสื่อสารกัน แต่ก็ based-on XML เช่นพวก RDF (Resource Definition Framework), OWL (Ontology Web Language) ยุคของ Web 3.0 นี้เองที่มีความฉลาดล้ำหน้าไปอย่างมาก และความฉลาดของมันนี่เองจะนำซึ่งความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และท้าทายเหล่าผู้พัฒนาเว็บไซต์และผู้ใช้มีจัดทำเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต

ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษา คือ สามารถเปรียบเทียบความแตกต่างและอธิบายถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Web 2.0 และ Web 3.0 เพื่อการศึกษาได้



3.      YouTube คือสื่อสังคมออนไลน์ประเภทใด และมีประโยชน์กับการศึกษาหรือไม่อย่างไร
ตอบ  YouTube คือสื่อสังคมออนไลน์ประเภทเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ (Creative Network) สำหรับการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน YouTube ได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นเครื่องมืออีกตัวที่สามารถทำให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ด้านผู้สอน : มีการนำ YouTube มาใช้เป็นสื่อทางการเรียนการสอน หรือมีการอัดวิดีโอการสอนเนื้อหาที่ตนเองได้รับผิดชอบแล้วอัพโหลดในเว็บ YouTube เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษา ในการเรียนการสอนเมื่อครูนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาจะทำให้ผู้เรียนสนใจและตั้งใจเรียนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสื่อที่มีการเคลื่อนไหว มีเสียง หรืออื่นๆ ที่นอกเหนือจากการบรรยาย สำคัญกว่านั้นคือการใช้ YouTube เป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอนจะส่งผลดีแก่ผู้เรียน คือ ผู้เรียนสามารถเข้ามาศึกษาหาความรู้ในวันและเวลาใดก็ได้ตามที่ต้องการ

ด้านผู้เรียน : ผู้เรียนสามารถค้นคว้าหาความรู้ผ่านทาง YouTube ได้ตลอดเวลา ไม่เพียงทางด้านการเรียนเท่านั้น YouTube ยังมีวิดีโอที่น่าสนใจอีกมากมาย เช่น เทคนิคการถักผ้าพันคอ การร้อยมาลัย และยังมีเทคนิควิธีการต่างๆที่น่าสนใจอีกมากมาย อาจมีการแลกเปลี่ยนวิดีโอหรืองานต่างๆ ที่จัดทำในรูปแบบวิดีโอระหว่างเพื่อนด้วยกัน

4.      ทักษะที่จำเป็นด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาใหม่ของครู มีอะไรบ้าง
 ตอบ
1.       ทักษะในการเข้าถึง (Access) ได้อย่างรวดเร็ว และรู้แหล่งในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศอย่างถูกต้องตามหลักจริยธรรมและกฎหมาย

2.       ทักษะในการประเมิน วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของข้อมูลสารสนเทศได้อย่างรู้เท่าทัน

3.       ทักษะในการใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างสร้างสรรค์

4.       ทักษะในการจัดการเชื่อมต่อสารสนเทศ (Information flow) จากแหล่งที่หลากหลายได้

5.       ทักษะในการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสมในการสร้างสื่อประสม (Multimedia) และไฟล์เอกสาร (Hypertext Documents) ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการนำเสนอได้หลากหลาย

6.       ทักษะในการนำเสนอสื่อได้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง และต่างวัฒนธรรม

7.       ทักษะในการใช้เครื่องมือสื่อสาร เชื่อมโยงเครือข่าย และสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

8.       ทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการวิจัย จัดระบบ และสื่อสารสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม

9.       ทักษะในการใช้ซอฟแวร์ที่เหมาะสมกับการศึกษาระดับต่างๆได้

10.   ทักษะในการพัฒนาตนเองให้ทันสมัยและติดตามความเจริญก้าวหน้าของนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาได้

11.   ทักษะในการวิเคราะห์และแสดงให้เห็นปัญหา หากบุคคลขาดคุณธรรมในการใช้ความรู้ที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร



5.      จงเขียนตารางวิเคราะห์ความเหมือน และความแตกต่างระหว่าง Web-Based Instruction, Mobile Learning, Hybrid Learning และ HyFlex Learning
 ตอบ  
ความเหมือน
ความแตกต่าง
เทคโนโลยีทุกอย่างใช้ระบบอินเทอร์เน็ตในการสอน
Web-Based เป็นการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ตเท่านั้น
มุ่งให้ผู้เรียนเป็นสำคัญ
Hybrid เป็นการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ตและสอนในชั้นเรียนปกติ
ทุกการสอนช่วยขยายโอกาสทางการศึกษา
Hyflex เป็นการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ตและสอนในชั้นเรียนปกติรวมทั้งการศึกษาด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้
จัดการเรียนรู้ได้กว้างขวาง
Mobile การเรียนรู้ผ่านเครื่องมือสื่อสาร สะดวกสบายและสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่
เทคโนโลยีทุกอย่างที่ใช้ในการสอนสามารถช่วยเพิ่มความสามารถของประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนได้


6.      เทคโนโลยี Cloud computing คืออะไร และมีประโยชน์กับการจัดการศึกษาหรือไม่อย่างไร
 ตอบ  เทคโนโลยี Cloud computing คือ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการให้บริการประมวลผลแบบคลาวด์ เกิดจากแนวคิดการให้บริการโดยใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีที่ทำงานเชื่อมโยงกัน โดยมีเซิร์ฟเวอร์มากมายทำงานสอดประสานเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อให้บริการแอพปลิเคชั่นต่างๆ มีประโยชน์กับการจัดการศึกษา ดังนี้
1.ประยุกต์ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างในการทำกิจกรรมการเรียนการสอน
2.การประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์บทเรียน สื่อการเรียนการสอน
3.การประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์ของผู้สอน
4.การประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaboration)
5.การประยุกต์ใช้ในการให้บริการงานห้องสมุด

กิจกรรมท้ายบทที่ 8

กิจกรรมท้ายบทที่ 8
1.     จงให้นิยามความหมายของคำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
ตอบ   การนำวัสดุอุปกรณ์และการจัดระบบข้อมูล การประมวลผลทางคอมพิวเตอร์และการนำเอาเทคโนโลยีมาผสมผสานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษา

2.     เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาอย่างไร
ตอบ   - เป็นเครื่องมือในการอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร
- ช่วยจัดระบบบริหารจัดการการศึกษา
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้
- เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการนำเสนอ
- ช่วยขยายโอกาสทางการศึกษา
- ช่วยสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3.     บทบาทที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีอะไรบ้าง
ตอบ


ผู้สอน

ผู้เรียน

สถานศึกษา
เป็นสื่อการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
เป็นสื่อแสวงหาความรู้
สนับสนุนการปฏิบัติงานของสถานศึกษา ติดตามประเมินผลการจัดการเรียนรู้
เป็นเครื่องมือในการบูรณาการกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์
เป็นเครื่องมือในการเติมเต็มความรู้
เป็นเครื่องอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรม
เป็นเครื่องมือสร้างสรรค์รูปแบบการเรียนรู้ด้วยโครงงานและรูปแบบอื่นๆ
เป็นเครื่องมือสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างชิ้นงาน(constructionism)
เป็นเครื่องมือในการแสดงผลงาน

ใช้เป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน
ใช้เป็นเครื่องมือในการประเมิน ติดตามตรวจสอบผลผลสำฤทธิ์ของผู้เรียน
ใช้เป็นเครื่องตรวจสอบและประเมินตนเอง
เป็นเครื่องมือในการติดตามและประเมินผลการทำงาน และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

4.     จงอธิบายถึงคุณค่าและการใช้เทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อการศึกษา
ตอบ   - ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน
- ลดต้นทุนค่าดูแลบำรุงรักษา
- ลดความเสี่ยงจากการเริ่มต้นหรือทดลองโครงการ
- มีความยืดหยุ่นในการเพิ่มหรือลดระบบตามความต้องการ
- ได้เครื่องแม่ข่ายที่มีประสิทธิภาพ มีระบบสำรองข้อมูลที่ดี มีเครือข่ายความเร็งสูง
- มีผู้เชี่ยวชาญดูแลระบบและพร้อมให้บริการช่วยเหลือ 24 ชั่วโมง

5.     จงอธิบายความแตกต่างระหว่าง web 2.0 และ web 3.0 พร้อมประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษา
ตอบ  
Web 2.0
Web 3.0
ผู้เข้าชมสามารถอ่านและเขียนได้ (Read-Write ) เป็นเทคโนโลยีเว็บไซต์ที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้ เช่น เว็บบอร์ด เว็บบล็อก วิพีเดีย เป็นต้น ซึ่งจะใช้ฐานข้อมูลมาเกี่ยวข้อกับเทคโนโลยีนี้ด้วย
ผู้ชมสามารถอ่าน เขียน จัดการ (Read-Write-Execute ) คือจากที่ผู้เข้าไปใช้อ่าน และเพิ่มข้อมูล ผู้ใช้ก็สามารถปรับแต่งข้อมูลหรือระบบได้เองอย่างอิสระมากขึ้น

6.     YouTube คือสื่อสังคมออนไลน์ประเภทใด และมีประโยชน์กับการศึกษาอย่างไร
ตอบ   เป็นสื่อประเภท โทรทัศน์ออนไลน์หรือโทรทัศน์อินเตอร์เน็ต  มีประโยชน์ในการถ่ายเผยแพร่ผลงาน วิดีทัศน์แลกเปลี่ยนความรู้ โดยการนำเสนอผ่านสื่อสังคมออนไลน์

7.     ทักษะที่จำเป็นด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาใหม่ของครู มีอะไรบ้าง
ตอบ   ประกอบด้วย 3ทักษะ
ทักษะที่1 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดหาและการจัดการแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ได้
ทักษะที่2 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการผลิตและจัดทำสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
ทักษะที่3 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเชื่อมโยงสานสัมพันธ์ และแบ่งปันข้อมูลสาระสนเทศกับเพื่อนร่วมงาน นักเรียน นิสิต นักศึกษา ผู้ปกครอง ท้องถิ่น และขยายไปยังชุมชุนทั่วโลก

8.     สายเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) มีประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างไร
ตอบ   มีประโยชน์กับการศึกษาที่สามารถส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เช่นข้อมูลทางการศึกษา ภาพนิ่ง เสียง วีดิทัศน์ สื่อการสอนไปได้พร้อมๆกัน เป็นต้น โดยไม่มีการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และเส้นใยแก้วนำแสงมีลักษณะพิเศษที่ใช้เชื่อมโยงระหว่างจุดๆหนึ่งได้ จึงเหมาะกับการเชื่อมระหว่างอาคารเรียนอีกด้วย

9.     วิวัฒนาการของเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1G-4G มีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ยุค1G เป็นการรับส่งสัญญาณแบบผสมสัญญาณแอนะล็อกเข้าช่องสื่อสารโดยใช้การแบ่งความถี่ออกเป็นช่องเล็กๆ
ยุค2G เป็นยุคที่เริ่มใช้การรับส่งสัญญาณโทรศัพท์แบบดิจิทัล
ยุค2.5G กำเนิดเทคโนโลยี GPRS และมีการบริการรับส่งข้อมูลที่ความเร็วระดับ 20-40 Kbps
ยุค 2.75G เริ่มมีการใช้เทคโนโลยี EDGE และมีความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลประมาณ80-100 Kbps/วินาที 
ยุค3G มีประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูล และความเร็วในการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วสูง  มีบริการmultimedia  รับ-ส่งFileขนาดใหญ่  Video/Call Confernce Downlond เพลง เป็นต้น
ยุค 4G มีBandwidth กว้างกว่า สามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วกว่า 3G ใช้งานได้ทั่วโลกและถูกกว่า การเชื่อต่อแบบไร้สายจะมีความเร็วกว่า3G ถึง7เท่า คือความเร็วที่ ตั้งแต่100 Mbps -1024 Mbps

10.หลักการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลสารสนเทศบนเว็บไซต์เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง
ตอบ   1.ประเมินวัตถุประสงค์ความต้องการในการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศไปใช้ ประกอบด้วย
-ผู้ใช้ต้องวิเคราะห์ความต้องการของตน ในการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศไปใช้         
-ผู้ใช้แยกแยะประเด็น ละเลือกหัวข้อที่ต้องการสืบค้น
2.พิจารณาด้านคุณภาพบนเว็บไซต์ที่ใช้ในการเผยแพร่ ได้แก่
-ข้อมูลดังกล่าวถูกเผยแพร่ตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในเว็บไซต์หรือไม่
-ข้อมูลดังกล่าวเป็นเนื้อหาสาระตรงตามวัตถุประสงค์ในการสร้างเว็บไซต์หรือไม่
-เว็บไซต์ดังกล่าววได้ให้ที่อยู่ e-mail address ในการติดต่อสอบถามหรือไม่
-เว็บไซต์สามารถเชื่อมโยงlinkไปเว็บที่อ้างอิงได้หรือไม่
-เว็บไซต์มีการปรับปรุงข้อมูลต่อเนื่องหรือไม่ และมีช่องทางให้ผู้อ่นแสดงความคิดเห็นหรือไม่
-เว็บไซต์มีข้อความเตือนผู้อ่านใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจใช้ข้อมูลที่ปรากฏบนเว็บไซต์
3.พิจารณาด้านเนื้อหาข้อมูลสารสนเทศบนเว็บไซต์ที่นำเสนอ
-ข้อมูลสารสนเทศดังกล่าวมีที่มาและแหล่งอ้างอิงเนื้อหาบนเว็บไซต์หรือไม่
-เนื้อหาเว็บไซต์ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ศีลธรรมและจริยธรรม และมีการบอกระบุวันเวลาในการเผยแพร่ข้อมูล
-เนื้อหาดังกล่าวต้องมีการระบุชื่อผู้เขียนบทความหรือผู้ให้ให้ข้อมูลหรือไม่
-คุณภาพของเนื้อหาสาระในการเขียน ต้องมีความถูกต้อง ดังนี้ สำนวนภาษาที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และใช้ภาษาทางการ สละสลวย และสุภาพ

กิจกรรมท้ายบทที่ 7

กิจกรรมท้ายบทที่ 7

หลักการและทฤษฎีการเรียนรู้กับเทคโนโลยีการศึกษา

1.  การเรียนรู้หมายถึงอะไร
ตอบ การเรียนรู้คือลักษณะของการปรับเปลี่ยนของบุคคลอันมีผล                เนื่องจากการได้รับ สภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดประสบการณ์  สื่อ          การเรียนรู้ที่สามารถสร้างประสบการณ์ให้กับผู้เรียนได้ซึ่งการ              ปรับเปลี่ยนจะส่งผล ให้บุคคลนั้นๆได้พบกับสิ่งเร้าที่มากระตุ้น              ก่อให้เกิด "การเรียนรู้"

2.จงอธิบายเป้าประสงค์ของการเรียนรู้และองค์ประกอบของการเรียนรู้
ตอบ เป้าประสงค์ของการเรียนรู้มี3ด้าน
1.  ด้านพุทธิพิสัย(Cognitive domain)สิ่งที่เป็นผลทำให้เกิดการ  เปลี่ยนแปลงของการเรียนรู้ที่เป็น ความสามารถทาง                           สติปัญญา
2.ด้านจิตพิสัย(Affective domain) สิ่งที่ผลการเรียนรู้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก
3.ด้านทักษะพิสัย(psychomotor domain)ผลการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการปฏิบัติ 
องค์ประกอบที่สำคัญของการเรียนรู้มี 4 ประการ
1.แรงขับ(Drive) คือเป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคลเป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของสมอง ระบบประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ แรงขับและความพร้อมก่อให้เกิดปฏฺกิริยาหรือพฤติกรรมที่จะชักนำไปสู่การเรียนรู้ขั้นต่อไป
2.สิ่งเร้า(stimulus) คือสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมอบสนองออกมา ในสภาพการเรียนการสอน สิ่งเร้าจะหมายถึงครูกิจกรรมการสอน และอุปกรณ์ต่างๆที่ครูนำมาใช้
3.การตอบสนอง(REsponse) คือปฏิกิริรยาหรือพฤติกรรมต่างๆที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าทั้งส่วนที่สังเกตเห็นได้และส่วนที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้
4.การเสริมแรง(Reinforcement) คือการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังในการ เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการ ตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้เป็นอย่างมาก

3.ถ้านิสิตต้องการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนต้องใช้หลักและทฤษฎีใดในการออกแบบ จงอธิบาย
ตอบ หลักการทฤษฎีพุทธิปัญญา (Cognitive Theory) เป็นพื้นฐานในการออกแบบสื่อการเรียนการสอนทั้งบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และบทเรียนผ่านเว็บในลักษณะสื่อหลายมิติ ที่ให้ผู้เรียนเกิดการรู้คิดตามความแตกต่างของแต่ละคน โดยผู้เรียนบางคนอาจประมวลโครงสร้างทางความรู้ได้เร็วเมื่อฝึกปฏิบัติครั้งเดียว แต่บางคนต้องฝึกปฏิบัติซ้ำหรือทบทวนความรู้เดิมได้ก็จะเกิดความจำ และความรู้ในระยะยาว

4.สภาพแววดล้อมการเรียนรู้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  สภาพแววดล้อมการเรียนรู้ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ
          1.สภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพ เป็นสภาพแวดล้อมที่มนุษย์              สร้างขึ้นที่สัมผัสได้ด้วยตาและกายสัมผัส
          2.สภาพแวดล้อมทางด้านจิตภาพ เป็นสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อ               ความรู้สึก เจตคติ มีผลต่อการเรียนการสอน
          3.สภาพแวดล้อมทางด้านสังคม เป็นสภาพที่เกิดจากการ                         ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

5.ให้นิสิตเขียนผังความคิดทฤษฎีการเรียนรู้กับการประยุกต์ในการเรียนการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา
(แบบหน้า277-278)

6.ทฤษฎีกลุ่มการสร้างสรรค์ความรู้คอนสตรัคติวิสต์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง พร้อมทั้งอธิบายความแตกต่าง
ตอบ  ทฤษฎีกลุ่มการสร้างสรรค์ความรู้คอนสตรัคติวิสต์แบ่งเป็น 2                 ประเภท ได้แก่ ทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ (Constructivism)             และทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ผ่านชิ้นงาน (Constructionism)           ซึ่งมีความแตกต่างกันดังในตาราง
Constructivism
Constructionism
1.ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ความรู้และความเข้าใจจากประสบการณ์และการสังเกต โดยออกมาในลักษณะคำตอบ หรือข้อเท็จจริง จากการทดลอง
1.ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ความรู้ออกมาเป็นรูปธรรมด้วยผลงาน โครงงาน ชิ้นงาน ตลอดจนการนำเสนอผลงาน
2.ความรู้ที่ได้นั้นต้องอาศัยประสบการณ์เดิม ต้องมีพื้นฐานความรู้เดิมมาก่อน
2.ความรู้ที่ได้ไม่จำเป็นต้องอาศัยพื้นฐานประสบการณ์เดิม แต่สามารถเกิดจากการกระทำ ลงมือปฏิบัติ ลองผิดลองถูก ทำซ้ำเพื่อแก้ไข จนเกิดความรู้ออกมาเป็นรูปธรรม
3.ยุทธวิธีในการจัดกิจกรรมใช้ Problem Based Learning
3.ยุทธวิธีในการจัดกิจกรรมใช้ Project Based Learning
4.ให้ครูและแหล่งข้อมูลตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ลงมือปฏิบัติเป็นสื่อในการเรียนรู้
4.ให้สื่อการเรียนรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมเป็นการเครื่องมือในการสร้างสรรค์ความรู้ของผู้เรียน
5.แนวทางการสอนมีลักษณะเริ่มจากส่วนใหญ่ไปหาส่วนย่อย โดยเน้นแนวคิดใหญ่
5.แนวทางในการสอนมีความหลากหลายโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้วางแผน คิดไปทำไป ในลักษณะที่ไม่มีแบบแผนขึ้นอยู่กับกลุ่มผู้เรียน

7.ทฤษฎีสังคมเชิงพุทธิปัญญา(Social Cognitive Theory)มีบทบาทสำคัญต่อการประยุกต์ใช้ในงานเทคโนโลยีการศึกษาได้อย่างไรจงอธิบาย
ตอบ   1. เป็นพื้นฐานในการออกแบบสื่อการเรียนการสอนทั้งบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และบทเรียนผ่านเว็บในลักษณะสื่อหลายมิติ ที่ให้ผู้เรียนเกิดการรู้คิดตามความแตกต่างของแต่ละคน โดยผู้เรียนบางคนอาจประมวลโครงสร้างทางความรู้ได้เร็วเมื่อฝึกปฏิบัติครั้งเดียว แต่บางคนต้องฝึกปฏิบัติซ้ำหรือทบทวนความรู้เดิมได้ก็จะเกิดความจำ และความรู้ในระยะยาว
2.การสร้างผังความคิดล่วงหน้า (Advanced Organize) โดยมีผังอธิบาย ผังบรรยาย ผังกลั่นกรองสาระ ผังความคิดแบบกราฟิก และผังมโนทัศน์ ซึ่งเป็นสาระสนเทศความรู้นำเสนอขั้นนำเข้าสู่บทเรียนในกิจกรรมการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์
8.จงเขียนแผนที่ความคิด(Mind Map)หลักทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา
ตอบ   (ทำแบบหน้า226)
หลักทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา
กลุ่มพฤติกรรมนิยม        
       ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์
       ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาพลอฟ
       ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
       ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทำ
กลุ่มพุทธิปัญญานิยม      
       ทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์
       ทฤษฎีสนามของเลวิน
       ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของชองเพียเจย์
       ทฤษฎีการค้นพบของบรูเนอร์
       ทฤษฎีประมวลสารสนเทศ
กลุ่มสร้างสรรค์ความรู้คอนสตรัคติวิสต์       
       ทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้
       ทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ผ่านชิ้นงาน
กลุ่มทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา       
       ทฤษฎีของบันดูรา