วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

กิจกรรมท้ายบทที่3

กิจกรรมท้ายบทที่3
     1.   จงให้นิยายความหมายของคำว่า วิธีระบบ ”

ตอบ  ลำดับขั้นตอนที่มีความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องโดยในทุกขั้นตอนสามารถประเมินตรวจสอบเพื่อแก้ไขปรับปรุงให้สามารถดำเนินกิจกรรมนั้นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.   องค์ประกอบของวิธีระบบมีอะไรบ้างจงอธิบาย
ตอบ  1. ปัจจัยนำเข้า เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้โดยการ  วิเคราะห์ สำรวจ เพื่อให้ทราบถึงสภาพการณ์พื้นฐานในการกำหนด
2. กระบวนการ คือ ขั้นตอนในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับข้อมูลเบื้องต้นที่กำหนดไว้ในปัจจัยนำเข้า
3. ผลลัพธ์ คือ ขั้นตอนที่แสดงถึงจุดหมายในการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
4. กำกับดูแล คือ ขั้นตอนสำหรับตรวจสอบกำกับเฝ้าติดตามให้การดำเนินงานตามกระบวนการนั้นมีคุณภาพตามที่วางแผนไว้
5. ผลสะท้อนกลับ คือ ผลผลิตซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นโดยเป็นขั้นตอนในการวิเคราะห์และพิจารณาไตร่ตรองผลการดำเนินงานว่ามีข้อผิดพลาดประการใด ต้องปรับปรุงแก้ไขสิ่งใดบ้าง เพื่อให้ได้ผลผลิตของการดำเนินงานในครั้งต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ให้นิสิตอธิบายความหมายของคำว่าระบบ และรูปแบบว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ระบบการเรียนการสอนและรูปแบบการเรียนการสอนนั้นอาศัยวิธีระบบมาพัฒนาขั้นตอนในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ ความแตกต่างระบบการเรียนการสอนและรูปแบบการเรียนการสอนนั้นมีดังนี้
1. ระบบการเรียนการสอนจุดเน้นเป็นสำคัญอยู่ตรงที่ขั้นตอนวิธีระบบการที่ชัดเจน  แต่รูปแบบการเรียนการสอนจุดเน้นอยู่ที่แนวคิดที่อาศัยหลักทฤษฎี วิธีการสอนและเทคนิคการสอนแบบต่างๆ         
2. ระบบการเรียนการสอนนั้นมุมมองในภาพรวมทั้งหมดให้ครบตามกระบวนการและสามารถตรวจสอบได้ แต่รูปแบบการเรียนการสอนนั้นจะมองในรายละเอียดปลีกย่อยเพื่อให้การดำเนินการกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักทฤษฎีสำเร็จตามวัตถุประสงค์
3. ระบบการเรียนการสอนมักใช้ในการดำเนินงานของระบบใหญ่รูปแบบการเรียนการสอนนั้นนิยมใช้ในการดำเนินงานกิจกรรมการเรียนการสอนระบบย่อย

4.จงเลือกระบบการสอน1ระบบและให้วิเคราะห์จัดกลุ่มถึงขั้นตอนของระบบนั้นๆว่าสอดคล้องกับองค์ประกอบของวิธีระบบในขั้นตอนใดบ้าง
ตอบ   ระบบการสอนของดิคและคาเรย์
       1. ปัจจัยนำเข้า (input) 
            - การกำหนดความมุ่งหมายการสอน
             -  การวิเคราะห์การสอน 
          2. กระบวนการ (Process) 
           -  ศึกษาพฤติกรรมเบื้องต้นและคุณลักษณะของผู้เรียน
              -   พัฒนายุทธศาสตร์การสอน

               -   เลือกและพัฒนาวัสดุการเรียนการสอน 
              3.ผลลัพธ์ (Output) 
           -  สร้างแบบทดสอบอิงเกณฑ์
             -  ออกแบบและจัดการประเมินระหว่างเรียน
              -   ออกแบบและจัดการประเมินหลังเรียน 
               5.  ผลสะท้อนกลับ(Feedback)
                -  แก้ไขปรับปรุงการสอน 

      5. จงอธิบายประโยชน์ของระบบต่อเทคโนโลยีการศึกษา
ตอบ 1.ทำให้เราทราบถึงสาเหตุของสิ่งต่างๆที่จะนะเทคโนโลยีการศึกษานั้นไปใช้
         2.ทำให้เราสามารถแก้ปัญหาได้ตรงเป้าหมายและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อเทคโนโลยีนั้นๆ
         3.สามารถตรวจสอบประเมินผลเพื่อให้การดำเนินกิจกรรมมี่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้อย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่                วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
          4.ทำให้การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษาน้ันเป็นระเบียบและทุกขั้นตอนนั้นมีเหตุผลที่สามารถ                ทราบถึงความ  สำคัญและความเป็นมาพร้อมท้ังจุกมุ่งหมายที่จะดำเนินไปให้การศึกษามีประสิทธิภาพ
          5.วิธีระบบช่วยให้เทคโนโลยีการศึกษานนมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว
          6.วิธีระบบเป็นกระบวนการส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อวซึ่งจะทำให้                   การเรียนการสอนและ เทคโนโลยีการศึกษามีประสิทธิภาพ



กิจกรรมท้ายบทที่2

แบบฝึกหัดท้ายบทที่2

1. จงให้นิยามความหมายของคำว่า “นวัตกรรมการศึกษา”                                                                   

-    นวัตกรรมนั้นมาจากคำ 2 คำ คือ นวัต หรือ นว ซึ่งหมายถึงสิ่งใหม่รวมกับคำว่า กรรม ซึ่งหมายถึงการกระทำ เมื่อนำ 2 คำนี้มารวมกันจึงหมายถึงการกระทำสิ่งใหม่หรือกรปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ซึ่งเป้าหมายทาง  การศึกษาจึงใช้คำว่า “นวัตกรรมการศึกษา”
2. องค์ประกอบในการพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมการศึกษามีอะไรบ้าง
- องค์ประกอบในการพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมการศึกษานั้นหรือไม่โดยใช้หลักดังนี้
1. ใช้วิธีระบบ ในการสร้างสรรค์ นวัตกรรมการศึกษานั้นต้องมีขั้นตอนเป็นระบบ มาใช้โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนปัจจัยนำเข้าที่เกิดขึ้นในกระบวนการขั้นตอนการออกแบบและผลิตนวัตกรรมการศึกษา และผลลัพธ์คือนวัตกรรมการศึกษาที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นมา โดยมุ่งเป้าต่อการศึกษาเป็นหลัก
2.  พิจารณาถึงผลผลิต ที่เป็นผลลัพธ์ของนวัตกรรมการศึกษานั้นๆว่าเป็นผลิตภัณฑ์หรือ วิธีการ
3.  ใช้การวิจัยในการตรวจสอบพิสูจน์  ประเมินผลและการดำเนินตลอดจนมีการปรับปรุงแก้ไขจนมีประสิทธิภาพในลักษณะการวิจัยและพัฒนาซึ่งจะส่งผลให้นวัตกรรมการศึกษานั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเมื่อนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย
4. นวัตกรรมการศึกษานั้นๆยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบันหากสิ่งใหม่สิ่งนั้นได้รับการเผยแพร่และยอมรับจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินงานอยู่ในขณะนั้นไม่ถือว่าสิ่งใหม่นั้นเป็นวัตกรรมการศึกษาแต่เป็นเทคโนโลยีการศึกษา
5. นวัตกรรมการศึกษานั้นต้องมีการยอมรับและนำไปใช้บางส่วนแล้วแต่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก
6. นวัตกรรมการศึกษานั้นต้องก่อให้เกิดแนวทางและวิธีในการแก้ปัญหาตลอดจนแนวทางที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลทางการศึกษา

3.ขอบข่ายของนวัตกรรมการศึกษามีอะไรบ้าง  พร้อมยกตัวอย่างขอบข่ายละ 2 ตัวอย่างพร้อมแหล่งอ้างอิง
-   ขอบข่ายของนวัตกรรมการศึกษาประกอบด้วย
1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เช่น การจัดหลักสูตรบูรณาการ การจัดหลักสูตรรายบุคคล
2.  นวัตกรรมทางด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน เช่น การเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต   เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาโครงงาน
3. นวัตกรรมทางด้านสื่อการสอน เช่น วีดิทัศน์แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Video) ชุดการสอน (Instructional Module)
4. นวัตกรรมทางด้านการวัดและประเมินผล เช่นการพัฒนาคลังข้อสอบ การใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดเกรด
5. นวัตกรรมทางด้านการบริหารจัดการ เช่น  นวัตกรรมการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  นวัตกรรมการบริหารสานสัมพันธ์ชุมชนโรงเรียน
6. นวัตกรรมทางด้านการฝึกอบรม เช่น ชุดฝึกอบรมโดยใช้สถานการณ์ปัญหาเป็นฐาน  วิธีการฝึกอบรมผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

4.กระบวนการเผยแพร่และยอมรับนวัตกรรมการศึกษามีกี่ขั้นอะไรบ้าง
-                   กระบวนการเผยแพร่และยอมรับนวัตกรรมการศึกษามี ขั้นตอน ได้แก่
ขั้นที่ วางแผนสู่เป้าหมาย
ขั้นที่ จุดประกายความคิด
ขั้นที่ สร้างมวลมิตรประชาสัมพันธ์
ขั้นที่ แบ่งปันความรู้
ขั้นที่ บูรณาการไตร่ตรอง
ขั้นที่ ฝึกหัดทดลองทำ
ขั้นที่ นำไปใช้
5.             คุณค่าของนวัตกรรมการศึกษามีอะไรบ้าง
-                   คุณค่าของนวัตกรรมการศึกษาได้แก่
1.  ความยากง่ายลำดับขั้นตอนของการใช้นวัตกรรมการศึกษา
2. คุณค่าและประโยชน์ในการแก้ไขและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. ช่วยสร้างแรงกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความกับผู้เรียนมากขึ้น
4.  ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกัน
5.   การใช้ทรัพยากรพัฒนานวัตกรรมการศึกษา
6.  การยอมรับนวัตกรรมการศึกษาเพื่อการต่อยอดองค์ความรู้              
7.  การส่งเสริมพัฒนาหรือผู้ออกแบบ และผู้เรียนเกิดจากการแสวงหาความรู้

6.  “นิสิตระดับปริญญาตรีสาขาการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยีได้เรียนรู้เกี่ยวกับ  เรื่องการของใบประกอบวิชาชีพครู  จากคณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา  เพื่อให้นิสิตมีความรู้นำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครู  เป็นระยะเวลา 3 วัน โดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตผสมผสานกับเทคนิคการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน”  จากข้อความดังกล่าวท่านคิดว่าสอดคล้องกับนวัตกรรมการศึกษาขอบข่ายใด


-    สอดคล้องกับขอบข่ายนวัตกรรมทางด้านการฝึกอบรม